กรณีใดต้องแจ้งเลขผู้เสียภาษีต่อผู้ขายสินค้า,บริการ

     ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่199 เรื่องกำหนดให้ระบุเลขผุ้เสียภาษีของผุ้ซื้อในใบกำกับภาษี กรมสรรพากรมีคำชี้แจงดังนี้

     1ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีหน้าที่และไม่ต้องแจ้งเลขผู้เสียภาษีต่อผู้ขาย

    2.ผู้ซื้อที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ได้แจ้งเลขผู้เสียภาษี หรือแจ้งว่าไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ผู้ขายไม่ต้องระบุเลขผู้เสียภาษีของผู้ซื้อได้และกฎหมายถือว่าผู้ขายไม่มีเจตนาออกใบกำกับภาษีที่มีรายการไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ให้ผู้ขายติดประกาศให้ผู้ซื้อทราบว่ากรณีไม่แจ้งเลขผู้เสียภาษีผู้ขายจะเปิดใบกำกับภาษีโดยไม่ได้ระบุเลขผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ

 3.ผู้ซื้อที่ได้รับใบกำกับภาษีที่ไม่ได้ระบุเลขผู้เสียภาษีของตนเอง จะไม่สามารถขอเครดิตภาษีได้ ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

 และหากการไม่แจ้งนั้นเป็นการกระทำที่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีจะมีความผิดตามกฎหมาย

ดูรายละเอียด

ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลปี2558

SME  มีเฮลดภาษีของSME รอบปีบัญชีเริ่มตั้งแต่ มกราคม 2558  ที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีกำไรได้รับยกเว้นภาษีจากกำไร 1-300,000 บาท ส่วนที่เกิน 300,000 -3,000,000 อัตรา15 %  และกำไรส่วนที่เกิน 3 ล้านอัตราภาษี 20 %

สรุป 1 เงือนไข SME คือมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท

        2 และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตั้งแต่ปี 2555-2558

รอบบัญชี 1.มกราคม- 31 ธันวาคม 2555

เริ่ม

สิ้นสุด

อัตรา %

กำไร

1

150,000

0

กำไร

150,001

1,000,000

15

กำไร

1,000,001

ขึ้นไป

23

รอบบัญชี 1มกราคม- 31 ธันวาคม 2556-2557

 

 

 

กำไร

1

300,000

0

กำไร

300,001

1,000,000

15

กำไร

1,000,001

ขึ้นไป

20

รอบบัญชี1.มกราคม- 31 ธันวาคม 2558

 

 

 

กำไร

1

300,000

0

กำไร

300,001

3,000,000

15

กำไร

3,000,001

ขึ้นไป

20

รายละเอียด กฤษฎีกา 583

หลักประกันบุคคลที่สาม ไม่จัดทำมีความผิดนะจะ

12/2/2015 นิติบุคคลที่ประกอบวิชาีพบัญชีต้องแจ้งหลักประกันบุคคลที่สาม

          นิติบุคคลที่ประกอบวิชาชีพบัญชี ทั้งที่เป็นสำนักงานทำบัญชี หรือสำนักงานสอบบัญชี ต้องแจ้งหลักประกันบุคคลที่สามต่อสภาวิชาชีพบัญชีภายใน 28 กุมภาพันธ์ 2515 โดยใช้หลักประกันเป็นเงินฝากประจำ , พันธบัตรรัฐบาล,กรมธรรรม์ก็ได้ ทั้งนี้วงเงินจำนวนร้อยละ3 ของทุนหรือรายได้แล้วแต่อย่างไรจะสูงกว่า คิดจากรายได้ของปีที่ผ่านมา และการเพิ่มลดทุนหลังจากที่แจ้งหลักประกันไม่มีผลต่อการแจ้งหลักประกันที่ได้แจ้งแล้ว กรณีมีการเปลี่ยนแปลงหลักประกันต้องแจ้งต่อสภาวิชาชีพภายใน 15 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง  

คำขอแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน (สวบช.5.3)

คำขอเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักประกัน (สวบช.5.4)

 

 

แจ้งยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับการทำบัญชีตามระบบ e – Accountant

เรื่อง แจ้งยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับการทำบัญชีตามระบบ e – Accountant

ด้วยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ออกประกาศฯ เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๗ ลงวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ผู้ทำบัญชีจะต้องดำเนินการ ดังนี้


                       ๑. การขึ้นทะเบียนและแจ้งรายละเอียดการเป็นผู้ทำบัญชี การเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ การขอยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชี จะต้องดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์  (e – Accountant)  ที่เว็บไซต์กรมฯ (www.db d.go.th) ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันเริ่มทำบัญชีหรือวันที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกการเป็นผู้ทำบัญชี


                       ๒. ต้องยืนยันรายชื่อนิติบุคคลที่รับทำบัญชีและสถานภาพการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชี พร้อมด้วยหลักฐานภายในวันที่ ๓๐ มกราคม ของทุกปี ทั้งนี้ ผู้ทำบัญชีสามารถรับทำบัญชีของนิติบุคคลได้ไม่เกิน ๑๐๐ ราย ต่อปีปฏิทิน


                       ๓. แจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) ทันทีหลังการทำกิจกรรมแต่ไม่เกินวันที่ ๓๐ มกราคม ของทุกปี โดยจะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องฯ ไม่น้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน


                       ๔. สำหรับผู้ทำบัญชีรายเดิมที่ได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการทำบัญชีต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไว้แล้ว ให้ตรวจสอบข้อมูลและยืนยันรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีทางระบบ   e – Accountant    พร้อมทั้งแนบหลักฐานประกอบการยืนยันคือ รูปถ่ายครึ่งตัว สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาหลักฐานการศึกษา ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข่าวดี!!! โครงการ “การพัฒนาผู้สอบบัญชีตลาดทุน”

27/12/14 ข่าวดี โครงการ"พัฒนาผู้สอบบัญชีตลาดทุน" 

ข่าวดี!!! โครงการ การพัฒนาผู้สอบบัญชีตลาดทุน 
วันที่ 19/12/2014   16:44:21 
 

ข่าวดี สำหรับผู้สอบบัญชีที่พลาดการสมัครในครั้งแรก หรือผู้ที่สนใจเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ขอให้ยื่นความประสงค์ได้ล่วงหน้าตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2558 โดยหลักสูตรนี้คาดว่าจะจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2558

โปรดแจ้งชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชี และสำนักงานสอบบัญชีที่ท่านสังกัดผ่านทางอีเมล์tsqc1@fap.or.th และสภาวิชาชีพบัญชีฯ จะส่งรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการและการสมัครให้ท่านต่อไป

คุณสมบัติของผู้สมัครมีดังต่อไปนี้

1.เป็นผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานเต็มเวลา ที่มีประสบการณ์งานสอบบัญชีไม่ต่ำกว่า 7 ปี และลงนามในฐานะผู้สอบบัญชีไม่น้อยกว่า 2 ปี

2.เป็นผู้สอบบัญชีสังกัดนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีฯ และไม่ได้เป็นสำนักงานสอบบัญชีในตลาดทุน

3.มีโครงสร้างสำนักงานที่มีผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานประจำสำนักงานไม่น้อยกว่า 2 คน และมีจำนวนบุคลากรปฏิบัติงานตรวจสอบที่เหมาะสม

4.ยินดีและมีความพร้อมเข้าร่วมโครงการที่มีระยะเวลาต่อเนื่อง

การพิจารณาจะเป็นไปตามลำดับก่อนหลังของการสมัคร

โครงการ “การพัฒนาผู้สอบบัญชีตลาดทุน” เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และสภาวิชาชีพบัญชีฯ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อพัฒนาผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอต่อการขยายตัวของกิจการในตลาดทุน โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เข้าร่วมอบรมในหลักสูตรเกี่ยวกับการจัดการระบบสำนักงานสอบบัญชีและแนวทางการปฏิบัติงานสอบบัญชีให้มีคุณภาพ รวมถึงได้รับการเข้าตรวจเยี่ยมจากสภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อพัฒนาระบบสำนักงานให้มีคุณภาพ และมีความพร้อมในการยื่นคำขอความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.

 

ประวัติบริษัท สปา คอนซัลแตนท์ จำกัด

เกี่ยวกับเรา ประวัติบริษัท สปา คอนซัลแตนท์ จำกัด
     บริษัท สปา คอนซัล แตนท์ จำกัด เริ่มดำเนินกิจการบริการด้านบัญชีตั้งแต่ปี 2533 ถึงปัจจุบัน ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท และมีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 486/104 ถนนเพชรบุรี แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 ให้บริการด้านสอบบัญชี ที่ปรึกษาบัญชี การวางระบบบัญชี เป็นผู้แทนจำหน่ายซอฟท์แวร์ด้านธุรกิจ และการจดทะเบียนบริษัท


ประวัติบริษัท สปา คอนซัลแตนท์ จำกัด

LOGOSPA ผู้บริหารเข้าสู่บริการที่ปรึกษาโครงการของหน่วยงานรัฐได้แก่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและ  ขนาดย่อมให้แข่งขันได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้มีระบบบัญชีที่ดี เข้าใจระบบภาษี วางแผนภาษีและประหยัดภาษีได้  อย่างถูกต้อง ตลอดจนมีระบบการตรวจสอบภายในที่ดีและเหมาะสม หลายโครงการนับระยะเวลาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546  ถึง  ปัจจุบันได้แก่

ปี2546 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP รุ่นที่ 5 ) ได้แก่

  • บริษัท ที พี เอส การ์เด้นเฟอร์นิเจอร์ จำกัด
  • บริษัท ยูเนียนเบลท์ อินดัสตรีส์ จำกัด
  • บริษัทรีไซเคิลคอนเซ็พท์ จำกัด
  • บริษัท ลอแยล คอนแท็คท์ จำกัด

ปี 2547 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP รุ่นที่ 6 ) ได้แก่

  • บริษัท โฮมเวลล์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

ปี 2548 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP รุ่นที่ 7 ) ได้แก่

  • บริษัท เอเชียเมทัล จำกัด

ปี 2549 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP รุ่นที่ 8 ) ได้แก่

  • บริษัท ไทยนาโอกะ ฟาร์มาซูติคอล จำกัด
  • บริษัท เซ็นเตอร์แพ็ค จำกัด

ปี 2550 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP รุ่นที่ 9 ) ได้แก่

  • บริษัท ที.เอ็น.เมทัลเวิร์ค จำกัด
  • บริษัท บิทไวส์ (ประเทศไทย) จำกัด

ปี 2551 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP รุ่นที่ 10 ) ได้แก่

  • บริษัท ไบโอแลป จำกัด

ปี 2552 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP รุ่นที่ 11) ได้แก่

  • บริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด
  • บริษัท ดอยคำ จำกัด

ปี 2553 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP รุ่นที่ 12) ได้แก่

  • บริษัท อีเกิลส์ แอร์ แอนด์ซี (ประเทศไทย) จำกัด

งานสอบบัญชี

  • การสอบบัญชีธุรกิจทั่วไป กว่า20ปี 

บริษัท สปา คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้สะสมประสบการณ์ในทุกๆ ด้าน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และความชำนาญในการดำเนินธุรกิจ ทั้งยังได้รับความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นตามลำดับ เป็นผลให้บริษัท สปา คอนซัลแตนท์ จำกัดกำหนดวิสัยทัศน์ในการให้บริการงานด้านบัญชีในอีกแขนงหนึ่ง เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการบัญชีให้มีความรู้ ความเข้าใจเนื้อหาด้านการบัญชี กฎหมาย และ ระบบสารสนเทศ โดยการให้การอบรมสัมมนาการบัญชีและการสอบบัญชีและกำหนดหลักสูตรการอบรมการสอบบัญชี เริ่มในปี 2553

นอกจากนี้ ยังขยายการส่งเสริมความรู้ให้กับผู้ประกอบการทั่วไป เพื่อให้เข้าใจระบบบัญชี การอ่านรายงานและระบบภาษีเพื่อจะสามารถอ่านรายงานได้เข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

แจ้งสถานะผู้สอบบัญชีและชั่วโมงCPD

24/12/2557 เตือนผู้สอบบัญชีแจ้งชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง ต่อสภาวิชาชีพบัญชี ชำระค่าสมาชิกและค่าธรรมเนียมผู้สอบบัญชี ภายใน 30 ธันวาคม 2557 ทางอินเตอร์เน็ท ชำระเงินทางธนาคาร ดูรายละเอียด

สภาวิชาชีพบัญชี ขอแจ้งเตือนให้ท่านสมาชิกดำเนินการเพื่อมิให้สถานะภาพของสมาชิกสิ้นสุด 

วันที่ 18/09/2014   11:25:38 

 

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอแจ้งเตือนให้ท่านสมาชิกดำเนินการ
เพื่อมิให้สถานภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง ดังนี้

       1. ยื่นหลักฐานการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPD) ประจำปี 2557 โดยมีจำนวนชั่วโมงทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง และต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีหรือการสอบบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง คลิ๊กข้อบังคับ

       2. ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชี ปีละ 2,000 บาท เลือกชำระได้ไม่จำกัดจำนวนปีที่ชำระ 
คลิ๊กข้อบังคับ

       3. ชำระค่าบำรุงสมาชิกของผู้สอบบัญชี และผู้ทำบัญชี เลือกชำระได้ไม่จำกัดจำนวนปีที่ชำระ 
โดยแบ่งเป็น   
- สมาชิกสามัญ และ วิสามัญ ปีละ 500   บาท 
                   – สมาชิกสมทบ ปีละ 300   บาท คลิ๊กข้อบังคับ

 

       ในปัจจุบันสภาวิชาชีพบัญชีฯ ได้นำบริการออนไลน์ มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่สมาชิก ซึ่งสมาชิกสามารถชำระค่าบำรุงสมาชิก ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชี โดยการDownload ใบแจ้งการชำระเงิน และชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร หรือตัดผ่านบัตรเครดิต ภายใน 5 วันทำการท่านสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินออนไลน์ด้วยตัวท่านเองผ่านเว็บไซต์สภาวิชาชีพบัญชีฯ รวมถึงการตรวจสอบสถานภาพสมาชิก และใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชี การเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลสมาชิกและผู้สอบบัญชี การยื่นชั่วโมง CPDและตรวจสอบหลักสูตร CPD
 ของผู้สอบบัญชี การแจ้งรายชื่อธุรกิจที่ผู้สอบบัญชีจะลงลายมือชื่อ การค้นหาข้อมูลผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล และการจองหลักสูตรอบรม สมาชิกสามารถใช้บริการต่างๆได้ตลอดทั้งปี ด้วยระบบ Online โดยสมาชิกต้อง log in เข้าไปที่ 
www.fap.or.th เลือกบริการออนไลน์ เมนูระบบสมาชิกและผู้สอบบัญชี คลิ๊กบริการออนไลน์

       ทั้งนี้ สภาวิชาชีพบัญชี ได้ประชาสัมพันธ์การสอนใช้งานบริการออนไลน์ใน website สภาวิชาชีพบัญชี
คลิปสอนการใช้งานระบบออนไลน์ หรือ คลิ๊กวิธีใช้งานระบบหากสมาชิกต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้าใช้งานบริการ Online โปรดติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 02-685-2535, 2564 และ 2566 หรือ e-mail:it@fap.or.th

จัดตั้งบริษัทที่มีทุน,เพิ่มทุนเกิน5ล้าน ต้องแสดงหลักฐานการนำส่งทุน

การจัดตั้งบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท และบริษัทที่เพิ่มทุนทำให้ทุนจดทะเบียนเกิน5ล้านบาทต้องแสดงหลักฐานการชำระทุน

        1ชำระเป็นเงินแสดงหลักฐานภายใน15 วันนับจากวันจดทะเบีบน

        2.ชำระเป็นทรัพย์สินอื่นภายใน 90 วันนับจากวันจดทะเบียน

        3. ทรัพย์สินที่ต้องจดทะเบียนเช่นอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียน

        การไม่นำส่งเอกสารอาจเป็นเหตุให้นายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียน

ดูรายละเอียด pn

การยื่นภาษีของหสมและคณะบุคคลปีภาษี2557

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๔๙)
เรื่อง กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย
———————-

                     เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ดังต่อไปนี้
                     ข้อ ๑ ให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงยอดเงินคงเหลือยกมา จำนวนรวมของยอดรายได้และยอดรายจ่ายที่ได้มีการรับมาหรือจ่ายไปในระหว่างปีภาษี และยอดเงินคงเหลือยกไป โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
                     ข้อ ๒ การจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ตามข้อ 1 ให้ทำเป็นภาษาไทย ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ
                     ข้อ ๓ การจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ตามข้อ ๑ ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ๙๐ หรือ ภ.ง.ด. ๙๑ ของทุกปีภาษี
                     ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ๙๐ หรือ ภ.ง.ด. ๙๑ ซึ่งจะต้องยื่นรายการตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

 

ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร

   
เอกสารแนบ