รับเงินมัดจำป้ายแดงต้องเปิดใบกำกับภาษีหรือไม่

บริษัทประกอบกิจการขายรถยนต์ให้ลูกค้ายืมใช้ป้ายแดงระหว่างรอป้ายตัวจริง การรับเงิน บริษัทออกใบรับเงินและคืนเงินให้ลูกค้าทุกรายโดยไม่มีเงิ่่อนไข กรณีนี้กิจการต้องเปิดใบกำกับภาษีให้ลูกค้าเนื่องจากถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(40) ป.รัษฎากร ต่างจากกรณีการมัดจำขวดน้ำเพื่อประกันการยืมใช้ขวด แต่กรณีป้ายแดงเป็นการให้บริการจากการได้ใช้ป้ายนั้น แม้จะมีการคืนเงินทุกรณีก็ตามเพราะลูกค้าทุกรายย่อมต้องรับป้ายตัวจริงและคืนป้ายแดง จึงเป็นคนละกรณี

ดังนั้น การรับเงินต้องเปิดใบกำกับภาษีและเมือคืนเงินก็เปิดใบลดหนี้ (ตัวอย่างข้อสอบกฎหมาย 2 CPA ) ดูรายละเอียด ข้อหารือที่ กค0811/พ09141

กรณีใดต้องแจ้งเลขผู้เสียภาษีต่อผู้ขายสินค้า,บริการ

     ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่199 เรื่องกำหนดให้ระบุเลขผุ้เสียภาษีของผุ้ซื้อในใบกำกับภาษี กรมสรรพากรมีคำชี้แจงดังนี้

     1ผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีหน้าที่และไม่ต้องแจ้งเลขผู้เสียภาษีต่อผู้ขาย

    2.ผู้ซื้อที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ได้แจ้งเลขผู้เสียภาษี หรือแจ้งว่าไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ผู้ขายไม่ต้องระบุเลขผู้เสียภาษีของผู้ซื้อได้และกฎหมายถือว่าผู้ขายไม่มีเจตนาออกใบกำกับภาษีที่มีรายการไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ให้ผู้ขายติดประกาศให้ผู้ซื้อทราบว่ากรณีไม่แจ้งเลขผู้เสียภาษีผู้ขายจะเปิดใบกำกับภาษีโดยไม่ได้ระบุเลขผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ

 3.ผู้ซื้อที่ได้รับใบกำกับภาษีที่ไม่ได้ระบุเลขผู้เสียภาษีของตนเอง จะไม่สามารถขอเครดิตภาษีได้ ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

 และหากการไม่แจ้งนั้นเป็นการกระทำที่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีจะมีความผิดตามกฎหมาย

ดูรายละเอียด

ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลปี2558

SME  มีเฮลดภาษีของSME รอบปีบัญชีเริ่มตั้งแต่ มกราคม 2558  ที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีกำไรได้รับยกเว้นภาษีจากกำไร 1-300,000 บาท ส่วนที่เกิน 300,000 -3,000,000 อัตรา15 %  และกำไรส่วนที่เกิน 3 ล้านอัตราภาษี 20 %

สรุป 1 เงือนไข SME คือมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท

        2 และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตั้งแต่ปี 2555-2558

รอบบัญชี 1.มกราคม- 31 ธันวาคม 2555

เริ่ม

สิ้นสุด

อัตรา %

กำไร

1

150,000

0

กำไร

150,001

1,000,000

15

กำไร

1,000,001

ขึ้นไป

23

รอบบัญชี 1มกราคม- 31 ธันวาคม 2556-2557

 

 

 

กำไร

1

300,000

0

กำไร

300,001

1,000,000

15

กำไร

1,000,001

ขึ้นไป

20

รอบบัญชี1.มกราคม- 31 ธันวาคม 2558

 

 

 

กำไร

1

300,000

0

กำไร

300,001

3,000,000

15

กำไร

3,000,001

ขึ้นไป

20

รายละเอียด กฤษฎีกา 583

หลักประกันบุคคลที่สาม ไม่จัดทำมีความผิดนะจะ

12/2/2015 นิติบุคคลที่ประกอบวิชาีพบัญชีต้องแจ้งหลักประกันบุคคลที่สาม

          นิติบุคคลที่ประกอบวิชาชีพบัญชี ทั้งที่เป็นสำนักงานทำบัญชี หรือสำนักงานสอบบัญชี ต้องแจ้งหลักประกันบุคคลที่สามต่อสภาวิชาชีพบัญชีภายใน 28 กุมภาพันธ์ 2515 โดยใช้หลักประกันเป็นเงินฝากประจำ , พันธบัตรรัฐบาล,กรมธรรรม์ก็ได้ ทั้งนี้วงเงินจำนวนร้อยละ3 ของทุนหรือรายได้แล้วแต่อย่างไรจะสูงกว่า คิดจากรายได้ของปีที่ผ่านมา และการเพิ่มลดทุนหลังจากที่แจ้งหลักประกันไม่มีผลต่อการแจ้งหลักประกันที่ได้แจ้งแล้ว กรณีมีการเปลี่ยนแปลงหลักประกันต้องแจ้งต่อสภาวิชาชีพภายใน 15 วันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง  

คำขอแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน (สวบช.5.3)

คำขอเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักประกัน (สวบช.5.4)

 

 

ข่าวดี!!! โครงการ “การพัฒนาผู้สอบบัญชีตลาดทุน”

27/12/14 ข่าวดี โครงการ"พัฒนาผู้สอบบัญชีตลาดทุน" 

ข่าวดี!!! โครงการ การพัฒนาผู้สอบบัญชีตลาดทุน 
วันที่ 19/12/2014   16:44:21 
 

ข่าวดี สำหรับผู้สอบบัญชีที่พลาดการสมัครในครั้งแรก หรือผู้ที่สนใจเป็นผู้สอบบัญชีในตลาดทุน ขอให้ยื่นความประสงค์ได้ล่วงหน้าตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2558 โดยหลักสูตรนี้คาดว่าจะจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2558

โปรดแจ้งชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชี และสำนักงานสอบบัญชีที่ท่านสังกัดผ่านทางอีเมล์tsqc1@fap.or.th และสภาวิชาชีพบัญชีฯ จะส่งรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการและการสมัครให้ท่านต่อไป

คุณสมบัติของผู้สมัครมีดังต่อไปนี้

1.เป็นผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานเต็มเวลา ที่มีประสบการณ์งานสอบบัญชีไม่ต่ำกว่า 7 ปี และลงนามในฐานะผู้สอบบัญชีไม่น้อยกว่า 2 ปี

2.เป็นผู้สอบบัญชีสังกัดนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีฯ และไม่ได้เป็นสำนักงานสอบบัญชีในตลาดทุน

3.มีโครงสร้างสำนักงานที่มีผู้สอบบัญชีปฏิบัติงานประจำสำนักงานไม่น้อยกว่า 2 คน และมีจำนวนบุคลากรปฏิบัติงานตรวจสอบที่เหมาะสม

4.ยินดีและมีความพร้อมเข้าร่วมโครงการที่มีระยะเวลาต่อเนื่อง

การพิจารณาจะเป็นไปตามลำดับก่อนหลังของการสมัคร

โครงการ “การพัฒนาผู้สอบบัญชีตลาดทุน” เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และสภาวิชาชีพบัญชีฯ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อพัฒนาผู้สอบบัญชีและสำนักงานสอบบัญชีให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอต่อการขยายตัวของกิจการในตลาดทุน โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เข้าร่วมอบรมในหลักสูตรเกี่ยวกับการจัดการระบบสำนักงานสอบบัญชีและแนวทางการปฏิบัติงานสอบบัญชีให้มีคุณภาพ รวมถึงได้รับการเข้าตรวจเยี่ยมจากสภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อพัฒนาระบบสำนักงานให้มีคุณภาพ และมีความพร้อมในการยื่นคำขอความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.

 

แจ้งสถานะผู้สอบบัญชีและชั่วโมงCPD

24/12/2557 เตือนผู้สอบบัญชีแจ้งชั่วโมงพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง ต่อสภาวิชาชีพบัญชี ชำระค่าสมาชิกและค่าธรรมเนียมผู้สอบบัญชี ภายใน 30 ธันวาคม 2557 ทางอินเตอร์เน็ท ชำระเงินทางธนาคาร ดูรายละเอียด

สภาวิชาชีพบัญชี ขอแจ้งเตือนให้ท่านสมาชิกดำเนินการเพื่อมิให้สถานะภาพของสมาชิกสิ้นสุด 

วันที่ 18/09/2014   11:25:38 

 

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอแจ้งเตือนให้ท่านสมาชิกดำเนินการ
เพื่อมิให้สถานภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง ดังนี้

       1. ยื่นหลักฐานการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPD) ประจำปี 2557 โดยมีจำนวนชั่วโมงทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง และต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการบัญชีหรือการสอบบัญชีไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง คลิ๊กข้อบังคับ

       2. ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชี ปีละ 2,000 บาท เลือกชำระได้ไม่จำกัดจำนวนปีที่ชำระ 
คลิ๊กข้อบังคับ

       3. ชำระค่าบำรุงสมาชิกของผู้สอบบัญชี และผู้ทำบัญชี เลือกชำระได้ไม่จำกัดจำนวนปีที่ชำระ 
โดยแบ่งเป็น   
- สมาชิกสามัญ และ วิสามัญ ปีละ 500   บาท 
                   – สมาชิกสมทบ ปีละ 300   บาท คลิ๊กข้อบังคับ

 

       ในปัจจุบันสภาวิชาชีพบัญชีฯ ได้นำบริการออนไลน์ มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่สมาชิก ซึ่งสมาชิกสามารถชำระค่าบำรุงสมาชิก ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชี โดยการDownload ใบแจ้งการชำระเงิน และชำระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร หรือตัดผ่านบัตรเครดิต ภายใน 5 วันทำการท่านสามารถพิมพ์ใบเสร็จรับเงินออนไลน์ด้วยตัวท่านเองผ่านเว็บไซต์สภาวิชาชีพบัญชีฯ รวมถึงการตรวจสอบสถานภาพสมาชิก และใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชี การเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลสมาชิกและผู้สอบบัญชี การยื่นชั่วโมง CPDและตรวจสอบหลักสูตร CPD
 ของผู้สอบบัญชี การแจ้งรายชื่อธุรกิจที่ผู้สอบบัญชีจะลงลายมือชื่อ การค้นหาข้อมูลผู้สอบบัญชีของนิติบุคคล และการจองหลักสูตรอบรม สมาชิกสามารถใช้บริการต่างๆได้ตลอดทั้งปี ด้วยระบบ Online โดยสมาชิกต้อง log in เข้าไปที่ 
www.fap.or.th เลือกบริการออนไลน์ เมนูระบบสมาชิกและผู้สอบบัญชี คลิ๊กบริการออนไลน์

       ทั้งนี้ สภาวิชาชีพบัญชี ได้ประชาสัมพันธ์การสอนใช้งานบริการออนไลน์ใน website สภาวิชาชีพบัญชี
คลิปสอนการใช้งานระบบออนไลน์ หรือ คลิ๊กวิธีใช้งานระบบหากสมาชิกต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้าใช้งานบริการ Online โปรดติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 02-685-2535, 2564 และ 2566 หรือ e-mail:it@fap.or.th

จัดตั้งบริษัทที่มีทุน,เพิ่มทุนเกิน5ล้าน ต้องแสดงหลักฐานการนำส่งทุน

การจัดตั้งบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท และบริษัทที่เพิ่มทุนทำให้ทุนจดทะเบียนเกิน5ล้านบาทต้องแสดงหลักฐานการชำระทุน

        1ชำระเป็นเงินแสดงหลักฐานภายใน15 วันนับจากวันจดทะเบีบน

        2.ชำระเป็นทรัพย์สินอื่นภายใน 90 วันนับจากวันจดทะเบียน

        3. ทรัพย์สินที่ต้องจดทะเบียนเช่นอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียน

        การไม่นำส่งเอกสารอาจเป็นเหตุให้นายทะเบียนเพิกถอนการจดทะเบียน

ดูรายละเอียด pn

การยื่นภาษีของหสมและคณะบุคคลปีภาษี2557

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๔๙)
เรื่อง กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย
———————-

                     เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ดังต่อไปนี้
                     ข้อ ๑ ให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงยอดเงินคงเหลือยกมา จำนวนรวมของยอดรายได้และยอดรายจ่ายที่ได้มีการรับมาหรือจ่ายไปในระหว่างปีภาษี และยอดเงินคงเหลือยกไป โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
                     ข้อ ๒ การจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ตามข้อ 1 ให้ทำเป็นภาษาไทย ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ
                     ข้อ ๓ การจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ตามข้อ ๑ ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ๙๐ หรือ ภ.ง.ด. ๙๑ ของทุกปีภาษี
                     ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ๙๐ หรือ ภ.ง.ด. ๙๑ ซึ่งจะต้องยื่นรายการตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

 

ประสงค์ พูนธเนศ
(นายประสงค์ พูนธเนศ)
อธิบดีกรมสรรพากร

   
เอกสารแนบ
 

สมาชิก/ผู้ทำบัญชี

tital2

 

สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
การประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชีนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพ
บัญชี(เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มาตรา 44 กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชี
–   สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
–  ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชี

 

 ประเภทของสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

 

1. สมาชิกสามัญ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาวิชาการบัญชีไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หรือได้รับประกาศนียบัตร หรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรอง
2. สมาชิกวิสามัญ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาบริหาร ธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่ามี ความเกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชีผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
3. สมาชิกสมทบ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางด้านการบัญชีหรือด้านอื่นที่มีการสอนวิชาการบัญชีเป็นหลัก บริหารธุรกิจ (สาขาวิชาการบัญชี) หรืออนุปริญญาทางการบัญชี
4. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีมีมติเชิญ

 

คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสมาชิกแต่ละประเภท

 

1. สมาชิกสามัญ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(2) มีสัญชาติไทย
(3) สำเร็จการศึกษาวิชาการบัญชีไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือได้รับประกาศนียบัตรหรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรองหรือสำเร็จการศึกษาสาขาอื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
(4) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพบัญชี ตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(5) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่เป็นการประพฤติผิด จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนด ในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(6) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
2. สมาชิกวิสามัญ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) สมาชิกวิสามัญซึ่งมีสัญชาติไทย 
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(2) สำเร็จการศึกษาในระดับไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชี
(3) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพบัญชี ตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(4) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่เป็นการประพฤติผิด จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนด ในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(5) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(ข) สมาชิกวิสามัญซึ่งไม่มีสัญชาติไทยต้องมีคุณสมบัติและ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 คือ
(1) เป็นผู้มีสัญชาติของประเทศซึ่งยินยอมให้ผู้มีสัญชาติไทยประกอบอาชีพสอบบัญชีในประเทศนั้นได้
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(3) สำเร็จการศึกษาวิชาการบัญชีไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หรือได้รับประกาศนียบัตร หรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรอง หรือสำเร็จการศึกษาสาขาอื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
(4) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพบัญชี ตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(5) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่เป็นการประพฤติผิด จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนด ในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(6) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
3. สมาชิกสมทบ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อ
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(2) มีสัญชาติไทย
(3) มีวุฒิการศึกษา ดังนี้
(ก) สำเร็จการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางด้านการบัญชีหรือด้านอื่นที่มีการสอนวิชาการบัญชีเป็นหลัก บริหารธุรกิจ (สาขาวิชาการบัญชี) หรืออนุปริญญาทางการบัญชี หรือ
(ข) อยู่ระหว่างการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านการบัญชี หรือด้านอื่นที่มีการสอนวิชาการบัญชีเป็นหลัก หรือบริหารธุรกิจ(สาขาวิชาการ บัญชี)
(4) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพบัญชี ตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(5) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่เป็นการประพฤติผิด จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนด ในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(6) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี

 

              สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

1. สิทธิของสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
      สมาชิกสามัญ สมาชิกสามัญมีสิทธิและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
      (1) แสดงความคิดเห็นในการประชุมใหญ่
      (2) ออกเสียงลงคะแนนในการประชุมใหญ่
      (3) เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง หรือรับแต่งตั้ง เป็นกรรมการหรือดำรงตำแหน่งอื่นอันเกี่ยวกับกิจการของสภาวิชาชีพบัญชีตามพระ ราชบัญญัตินี้
      (4) ชำระค่าบำรุงสมาชิกหรือค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
      (5) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชีและปฏิบัติตนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
      (6) สิทธิและหน้าที่อื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
     สมาชิกวิสามัญ สมาชิกสมทบ มีสิทธิและหน้าที่ตาม ข้อ (1),(4),(5) และ (6)
2. สิทธิพิเศษอื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
    สมาชิกสามัญ / วิสามัญ / สมทบ ประเภทราย 1 ปี
       (1) ส่วนลด 10% ในการซื้อหนังสือสภาฯตลอดอายุบัตร ยกเว้นหนังสือที่ลดราคาแล้ว
       (2) ซื้อบัตรอบรม / สัมมนา ในราคาพิเศษตามอัตราและเวลาที่กำหนดในเอกสารเผยแพร่การอบรม / สัมมนา โดยในแต่ละครั้ง 1
      บัตรสมาชิกใช้สำหรับ 1 ที่ ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีออกในนามสมาชิกบุคคลนั้น
    สมาชิกสามัญ / วิสามัญ / สมทบ ประเภทราย 3 ปี และ 5 ปี
       (1) ส่วนลด 20% ในการซื้อหนังสือสภาฯ ตลอดอายุบัตร ยกเว้นหนังสือที่ลดราคาแล้ว
       (2) ซื้อบัตรอบรม / สัมมนา ในราคาพิเศษตามอัตราและเวลา ที่กำหนดในเอกสารเผยแพร่การอบรม / สัมมนา โดยในแต่ละครั้ง 1
       บัตรสมาชิกใช้สำหรับ 1 ที่ ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีออกในนามสมาชิกบุคคลนั้น
       ค่าบำรุงสมาชิก
อัตราค่าบำรุงสมาชิกเป็นอัตราตามรายปีปฏิทิน (1 มกราคมถึง 31 ธันวาคมของทุกปี) ดังนี้
1. สมาชิกสามัญ /วิสามัญ
  ราย 1 ปี 500.- บาท
  ราย 3 ปี 1,500.- บาท
  ราย 5 ปี 2,500.- บาท
2. สมาชิกสมทบ
  ราย 1 ปี 300.- บาท
  ราย 3 ปี 900.- บาท
  ราย 5 ปี 1,500.- บาท
       ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี (สวบช. 1)
1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ดาวน์โหลดสวบช.1
2. แนบหลักฐานประกอบการสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี (รายละเอียดตามแบบ สวบช.1)
3. นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
      (1) เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
      (2) ไปรษณีย์
      (3) ระบบออนไลน์ (สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ)
       การต่ออายุสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
    ค่าบำรุงสมาชิกเป็นอัตราตามรายปีปฏิทิน (1 มกราคมถึง 31 ธันวาคมของทุกปี) สมาชิกจะขอต่ออายุสมาชิกภาพและชำระค่าบำรุงได้ล่วงหน้าภายในสามเดือนก่อน บัตรหมดอายุ แต่จะล่าช้าเกินเดือนมกราคมของปีถัดไปไม่ได้

 

1. วิธีการต่ออายุสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

     (1) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอต่ออายุสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ดาวน์โหลดสวบช.3
     (2) แนบหลักฐานการเปลี่ยนแปลงชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
     (3) นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
            – เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
            – ไปรษณีย์
            – ระบบออนไลน์ (กรณีมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ-สกุล สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ)

 

 

 

นิติบุคคลที่ให้บริการด้านการสอบบัญชี หรือด้านการทำบัญชี

1. การจดทะเบียนนิติบุคคลและแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันคือ

 

 

 

     นิติบุคคล ที่ให้บริการด้านการสอบบัญชี หรือด้านการทำบัญชี ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ต้องดำเนินการจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี

   •  นิติบุคคลใดให้บริการการสอบบัญชี หรือการทำบัญชีอยู่แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ใช้บังคับ (วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2547) ให้ยื่นขอจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
   •  นิติบุคคลใดให้บริการการสอบบัญชี หรือการทำบัญชีหลังจากวันที่พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ใช้บังคับ (วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2547) ให้ยื่นขอจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี ภายใน 30 วัน หลังจากการจดทะเบียน จัดตั้งนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ แล้วเสร็จ
   •  ในวันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี นิติบุคคลต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามประเภทหนึ่งประเภทใดรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี และแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันมาพร้อมกับการยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี
2. หลักฐานการจดทะเบียนนิติบุคคล และหลักฐานการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน
     (1) หนังสือรับรองการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นนิติบุคคลไม่เกิน 1 เดือน
     (2) หลักฐานการชำระค่าจดทะเบียนบุคคลและค่าใช้จ่ายดำเนินการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน
     (3) ข้อมูลในงบกำไรขาดทุนย้อนหลัง 3 ปี หรือเท่าที่มีในกรณีที่เป็นนิติบุคคลตั้งใหม่
     (4)สำเนาหลักประกัน
     (5)สำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว(กรณีต่างด้าว)
     (6)หนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนนิติบุคคล(ถ้ามี)

 

 

 

     ขั้นตอนการจดทะเบียนนิติบุคคลกับและหลักฐานการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน สภาวิชาชีพบัญชี

     (1) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนนิติบุคคล ดาวน์โหลดสวบช.5   และหลักฐานการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน (สวบช 5.3)
     (2) แนบหลักฐานประกอบการจดทะเบียนนิติบุคคลและหลักฐานการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันกับสภาวิชาชีพบัญชี
     (3) นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
         – เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
         – ไปรษณีย์
         – ระบบออนไลน์ (สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ)
 
3. การจดทะเบียนแก้ไขข้อมูลนิติบุคคล / เลิกการให้บริการการสอบบัญชี หรือการทำบัญชี /การเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักประกัน
       ในกรณีนิติบุคคลมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการที่ได้จดทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพ บัญชีเป็นอย่างอื่น หรือเลิกกิจการ หรือนิติบุคคลเลิกกิจการ หรือเลิกการให้บริการการสอบบัญชีหรือการทำบัญชี จะต้องดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้นๆ ต่อสภาวิชาชีพบัญชี ดังนี้
     (1) ดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการแก้ไขข้อมูล โดยใช้แบบ ดาวน์โหลดสวบช.5.1
     (2) แนบหลักฐานการจดทะเบียนแก้ไข การเลิกกิจการ หรือเลิกการให้บริการการสอบบัญชีหรือการทำบัญชี กรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
     (3) ชำระค่าจดทะเบียนแก้ไข (ครั้งละ) 500 บาท
     (4) นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
          • เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
          • ไปรษณีย์
          • ระบบออนไลน์ (สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ) * ในกรณีนิติบุคคลมีการเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักประกัน จะต้องดำเนินการแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อสภาวิชาชีพบัญชี ดังนี้
     (1) ดำเนินการยื่นขอแจ้งเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักประกันภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยใช้แบบ (สวบช. 5.4)
     (2) แนบหลักฐานแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักฐาน ได้แก่
          (2.1)สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่เกิน 1 เดือน
          (2.2)สำเนาหลักประกัน
          (2.3) หนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนนิติบุคคล (ถ้ามี)
     (3) ชำระค่าใช้จ่ายดำเนินการแจ้งเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักประกัน 200 บาท
     (4) นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
          • เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
          • ไปรษณีย์
          • ระบบออนไลน์ (สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ)
4. สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี
      หน้าที่ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี
     (1) นิติบุคคลต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ทั้งนี้ตามประเภท จำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
     (2) ในกรณีที่นิติบุคคลประกอบกิจการให้บริการด้านการสอบบัญชี บุคคลซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลในการให้บริการการสอบบัญชีต้องเป็นผู้ ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
     (3) ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม ให้นิติบุคคลซึ่งผู้สอบบัญชีนั้นสังกัดอยู่ร่วมรับผิดชอบด้วยอย่างลูกหนี้ ร่วม และในกรณีที่ยังไม่สามารถชำระค่าเสียหายได้ครบจำนวน ให้หุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล หรือผู้แทนนิติบุคคล ต้องร่วมรับผิดจนครบจำนวน เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่า ตนมิได้มีส่วนรู้เห็น หรือยินยอมในการกระทำผิดที่ต้องรับผิดชอบ
     สิทธิพิเศษอื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
    (1) ส่วนลด 10% ในการซื้อหนังสือสภาฯ ตลอดอายุบัตร ยกเว้นหนังสือที่ลดราคาแล้ว
    (2) ซื้อบัตรอบรม / สัมมนา ในราคาพิเศษตามอัตราและเวลา ที่กำหนดในเอกสารเผยแพร่การอบรม / สัมมนา โดยในแต่ละครั้งสามารถลดราคาในอัตราพิเศษจำนวน  2 ที่ ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีออกในนามนิติบุคคลนั้น
 
5. การต่ออายุทะเบียนนิติบุคคล และการแจ้งการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันประจำปี
      การต่ออายุทะเบียนนิติบุคคล ให้ยื่นขอต่ออายุทุก 3 ปี นับจากวันจดทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี โดยดำเนินการต่ออายุภายใน 3 เดือนก่อนใบทะเบียนหมดอายุ ดังนี้
         (1 ) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอต่ออายุสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ดาวน์โหลดสวบช.5.2
         (2) ชำระค่าจดทะเบียนต่ออายุทะเบียนนิติบุคคล 2,000 บาท
         (3) นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
               – เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
               – ไปรษณีย์
               – ระบบออนไลน์ (สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ)
         การแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันประจำปี ให้ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีทุกปี โดยดำเนินการ ดังนี้
         (1) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอต่ออายุสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ดาวน์โหลดสวบช.5.3
พร้อมเอกสาร ดังนี้
          (1.1) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่เกิน 1 เดือน
          (1.2) สำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว(กรณีต่างด้าว)
          (1.3) สำเนาหลักประกัน
          (1.4) หนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนนิติบุคคล(ถ้ามี)
         (2) ชำระค่าใช้จ่ายดำเนินการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน 400 บาท
         (3) นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
          – เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
          – ไปรษณีย์
          – ระบบออนไลน์ (สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ)