สมาชิก/ผู้ทำบัญชี

tital2

 

สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
การประกอบวิชาชีพเป็นผู้ทำบัญชีนั้น ผู้ประกอบวิชาชีพต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพ
บัญชี(เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 มาตรา 44 กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชี
–   สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
–  ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชี

 

 ประเภทของสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

 

1. สมาชิกสามัญ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาวิชาการบัญชีไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หรือได้รับประกาศนียบัตร หรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรอง
2. สมาชิกวิสามัญ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาบริหาร ธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่ามี ความเกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชีผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
3. สมาชิกสมทบ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางด้านการบัญชีหรือด้านอื่นที่มีการสอนวิชาการบัญชีเป็นหลัก บริหารธุรกิจ (สาขาวิชาการบัญชี) หรืออนุปริญญาทางการบัญชี
4. สมาชิกกิตติมศักดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีมีมติเชิญ

 

คุณสมบัติของผู้สมัครเป็นสมาชิกแต่ละประเภท

 

1. สมาชิกสามัญ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(2) มีสัญชาติไทย
(3) สำเร็จการศึกษาวิชาการบัญชีไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือได้รับประกาศนียบัตรหรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรองหรือสำเร็จการศึกษาสาขาอื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
(4) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพบัญชี ตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(5) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่เป็นการประพฤติผิด จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนด ในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(6) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
2. สมาชิกวิสามัญ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) สมาชิกวิสามัญซึ่งมีสัญชาติไทย 
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(2) สำเร็จการศึกษาในระดับไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชี
(3) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพบัญชี ตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(4) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่เป็นการประพฤติผิด จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนด ในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(5) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(ข) สมาชิกวิสามัญซึ่งไม่มีสัญชาติไทยต้องมีคุณสมบัติและ ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 14 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 คือ
(1) เป็นผู้มีสัญชาติของประเทศซึ่งยินยอมให้ผู้มีสัญชาติไทยประกอบอาชีพสอบบัญชีในประเทศนั้นได้
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(3) สำเร็จการศึกษาวิชาการบัญชีไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หรือได้รับประกาศนียบัตร หรือวุฒิอื่นเทียบเท่าปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรอง หรือสำเร็จการศึกษาสาขาอื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
(4) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพบัญชี ตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(5) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่เป็นการประพฤติผิด จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนด ในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(6) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
3. สมาชิกสมทบ ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อ
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(2) มีสัญชาติไทย
(3) มีวุฒิการศึกษา ดังนี้
(ก) สำเร็จการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ไม่ต่ำกว่าประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางด้านการบัญชีหรือด้านอื่นที่มีการสอนวิชาการบัญชีเป็นหลัก บริหารธุรกิจ (สาขาวิชาการบัญชี) หรืออนุปริญญาทางการบัญชี หรือ
(ข) อยู่ระหว่างการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านการบัญชี หรือด้านอื่นที่มีการสอนวิชาการบัญชีเป็นหลัก หรือบริหารธุรกิจ(สาขาวิชาการ บัญชี)
(4) ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่ง วิชาชีพบัญชี ตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(5) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีที่เป็นการประพฤติผิด จรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนด ในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
(6) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี

 

              สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

1. สิทธิของสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
      สมาชิกสามัญ สมาชิกสามัญมีสิทธิและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
      (1) แสดงความคิดเห็นในการประชุมใหญ่
      (2) ออกเสียงลงคะแนนในการประชุมใหญ่
      (3) เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง หรือรับแต่งตั้ง เป็นกรรมการหรือดำรงตำแหน่งอื่นอันเกี่ยวกับกิจการของสภาวิชาชีพบัญชีตามพระ ราชบัญญัตินี้
      (4) ชำระค่าบำรุงสมาชิกหรือค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
      (5) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชีและปฏิบัติตนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
      (6) สิทธิและหน้าที่อื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
     สมาชิกวิสามัญ สมาชิกสมทบ มีสิทธิและหน้าที่ตาม ข้อ (1),(4),(5) และ (6)
2. สิทธิพิเศษอื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
    สมาชิกสามัญ / วิสามัญ / สมทบ ประเภทราย 1 ปี
       (1) ส่วนลด 10% ในการซื้อหนังสือสภาฯตลอดอายุบัตร ยกเว้นหนังสือที่ลดราคาแล้ว
       (2) ซื้อบัตรอบรม / สัมมนา ในราคาพิเศษตามอัตราและเวลาที่กำหนดในเอกสารเผยแพร่การอบรม / สัมมนา โดยในแต่ละครั้ง 1
      บัตรสมาชิกใช้สำหรับ 1 ที่ ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีออกในนามสมาชิกบุคคลนั้น
    สมาชิกสามัญ / วิสามัญ / สมทบ ประเภทราย 3 ปี และ 5 ปี
       (1) ส่วนลด 20% ในการซื้อหนังสือสภาฯ ตลอดอายุบัตร ยกเว้นหนังสือที่ลดราคาแล้ว
       (2) ซื้อบัตรอบรม / สัมมนา ในราคาพิเศษตามอัตราและเวลา ที่กำหนดในเอกสารเผยแพร่การอบรม / สัมมนา โดยในแต่ละครั้ง 1
       บัตรสมาชิกใช้สำหรับ 1 ที่ ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีออกในนามสมาชิกบุคคลนั้น
       ค่าบำรุงสมาชิก
อัตราค่าบำรุงสมาชิกเป็นอัตราตามรายปีปฏิทิน (1 มกราคมถึง 31 ธันวาคมของทุกปี) ดังนี้
1. สมาชิกสามัญ /วิสามัญ
  ราย 1 ปี 500.- บาท
  ราย 3 ปี 1,500.- บาท
  ราย 5 ปี 2,500.- บาท
2. สมาชิกสมทบ
  ราย 1 ปี 300.- บาท
  ราย 3 ปี 900.- บาท
  ราย 5 ปี 1,500.- บาท
       ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี (สวบช. 1)
1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ดาวน์โหลดสวบช.1
2. แนบหลักฐานประกอบการสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี (รายละเอียดตามแบบ สวบช.1)
3. นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
      (1) เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
      (2) ไปรษณีย์
      (3) ระบบออนไลน์ (สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ)
       การต่ออายุสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี
    ค่าบำรุงสมาชิกเป็นอัตราตามรายปีปฏิทิน (1 มกราคมถึง 31 ธันวาคมของทุกปี) สมาชิกจะขอต่ออายุสมาชิกภาพและชำระค่าบำรุงได้ล่วงหน้าภายในสามเดือนก่อน บัตรหมดอายุ แต่จะล่าช้าเกินเดือนมกราคมของปีถัดไปไม่ได้

 

1. วิธีการต่ออายุสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

     (1) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอต่ออายุสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ดาวน์โหลดสวบช.3
     (2) แนบหลักฐานการเปลี่ยนแปลงชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
     (3) นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
            – เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
            – ไปรษณีย์
            – ระบบออนไลน์ (กรณีมีการเปลี่ยนแปลงชื่อ-สกุล สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ)

 

 

 

นิติบุคคลที่ให้บริการด้านการสอบบัญชี หรือด้านการทำบัญชี

1. การจดทะเบียนนิติบุคคลและแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันคือ

 

 

 

     นิติบุคคล ที่ให้บริการด้านการสอบบัญชี หรือด้านการทำบัญชี ตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ต้องดำเนินการจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี

   •  นิติบุคคลใดให้บริการการสอบบัญชี หรือการทำบัญชีอยู่แล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ใช้บังคับ (วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2547) ให้ยื่นขอจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
   •  นิติบุคคลใดให้บริการการสอบบัญชี หรือการทำบัญชีหลังจากวันที่พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ใช้บังคับ (วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2547) ให้ยื่นขอจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี ภายใน 30 วัน หลังจากการจดทะเบียน จัดตั้งนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ แล้วเสร็จ
   •  ในวันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี นิติบุคคลต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามประเภทหนึ่งประเภทใดรวมกันเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสามของทุน ณ วันที่ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี และแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันมาพร้อมกับการยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี
2. หลักฐานการจดทะเบียนนิติบุคคล และหลักฐานการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน
     (1) หนังสือรับรองการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นนิติบุคคลไม่เกิน 1 เดือน
     (2) หลักฐานการชำระค่าจดทะเบียนบุคคลและค่าใช้จ่ายดำเนินการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน
     (3) ข้อมูลในงบกำไรขาดทุนย้อนหลัง 3 ปี หรือเท่าที่มีในกรณีที่เป็นนิติบุคคลตั้งใหม่
     (4)สำเนาหลักประกัน
     (5)สำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว(กรณีต่างด้าว)
     (6)หนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนนิติบุคคล(ถ้ามี)

 

 

 

     ขั้นตอนการจดทะเบียนนิติบุคคลกับและหลักฐานการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน สภาวิชาชีพบัญชี

     (1) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนนิติบุคคล ดาวน์โหลดสวบช.5   และหลักฐานการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน (สวบช 5.3)
     (2) แนบหลักฐานประกอบการจดทะเบียนนิติบุคคลและหลักฐานการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันกับสภาวิชาชีพบัญชี
     (3) นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
         – เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
         – ไปรษณีย์
         – ระบบออนไลน์ (สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ)
 
3. การจดทะเบียนแก้ไขข้อมูลนิติบุคคล / เลิกการให้บริการการสอบบัญชี หรือการทำบัญชี /การเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักประกัน
       ในกรณีนิติบุคคลมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการที่ได้จดทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพ บัญชีเป็นอย่างอื่น หรือเลิกกิจการ หรือนิติบุคคลเลิกกิจการ หรือเลิกการให้บริการการสอบบัญชีหรือการทำบัญชี จะต้องดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้นๆ ต่อสภาวิชาชีพบัญชี ดังนี้
     (1) ดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขภายใน 14 วัน นับแต่วันที่มีการแก้ไขข้อมูล โดยใช้แบบ ดาวน์โหลดสวบช.5.1
     (2) แนบหลักฐานการจดทะเบียนแก้ไข การเลิกกิจการ หรือเลิกการให้บริการการสอบบัญชีหรือการทำบัญชี กรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
     (3) ชำระค่าจดทะเบียนแก้ไข (ครั้งละ) 500 บาท
     (4) นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
          • เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
          • ไปรษณีย์
          • ระบบออนไลน์ (สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ) * ในกรณีนิติบุคคลมีการเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักประกัน จะต้องดำเนินการแจ้งการเปลี่ยนแปลงต่อสภาวิชาชีพบัญชี ดังนี้
     (1) ดำเนินการยื่นขอแจ้งเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักประกันภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยใช้แบบ (สวบช. 5.4)
     (2) แนบหลักฐานแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักฐาน ได้แก่
          (2.1)สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่เกิน 1 เดือน
          (2.2)สำเนาหลักประกัน
          (2.3) หนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนนิติบุคคล (ถ้ามี)
     (3) ชำระค่าใช้จ่ายดำเนินการแจ้งเปลี่ยนแปลงประเภทของหลักประกัน 200 บาท
     (4) นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
          • เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
          • ไปรษณีย์
          • ระบบออนไลน์ (สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ)
4. สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี
      หน้าที่ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี
     (1) นิติบุคคลต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม ทั้งนี้ตามประเภท จำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
     (2) ในกรณีที่นิติบุคคลประกอบกิจการให้บริการด้านการสอบบัญชี บุคคลซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลในการให้บริการการสอบบัญชีต้องเป็นผู้ ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
     (3) ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม ให้นิติบุคคลซึ่งผู้สอบบัญชีนั้นสังกัดอยู่ร่วมรับผิดชอบด้วยอย่างลูกหนี้ ร่วม และในกรณีที่ยังไม่สามารถชำระค่าเสียหายได้ครบจำนวน ให้หุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล หรือผู้แทนนิติบุคคล ต้องร่วมรับผิดจนครบจำนวน เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่า ตนมิได้มีส่วนรู้เห็น หรือยินยอมในการกระทำผิดที่ต้องรับผิดชอบ
     สิทธิพิเศษอื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
    (1) ส่วนลด 10% ในการซื้อหนังสือสภาฯ ตลอดอายุบัตร ยกเว้นหนังสือที่ลดราคาแล้ว
    (2) ซื้อบัตรอบรม / สัมมนา ในราคาพิเศษตามอัตราและเวลา ที่กำหนดในเอกสารเผยแพร่การอบรม / สัมมนา โดยในแต่ละครั้งสามารถลดราคาในอัตราพิเศษจำนวน  2 ที่ ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีออกในนามนิติบุคคลนั้น
 
5. การต่ออายุทะเบียนนิติบุคคล และการแจ้งการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันประจำปี
      การต่ออายุทะเบียนนิติบุคคล ให้ยื่นขอต่ออายุทุก 3 ปี นับจากวันจดทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี โดยดำเนินการต่ออายุภายใน 3 เดือนก่อนใบทะเบียนหมดอายุ ดังนี้
         (1 ) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอต่ออายุสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ดาวน์โหลดสวบช.5.2
         (2) ชำระค่าจดทะเบียนต่ออายุทะเบียนนิติบุคคล 2,000 บาท
         (3) นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
               – เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
               – ไปรษณีย์
               – ระบบออนไลน์ (สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ)
         การแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกันประจำปี ให้ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีทุกปี โดยดำเนินการ ดังนี้
         (1) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอต่ออายุสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ดาวน์โหลดสวบช.5.3
พร้อมเอกสาร ดังนี้
          (1.1) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ไม่เกิน 1 เดือน
          (1.2) สำเนาใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว(กรณีต่างด้าว)
          (1.3) สำเนาหลักประกัน
          (1.4) หนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนนิติบุคคล(ถ้ามี)
         (2) ชำระค่าใช้จ่ายดำเนินการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับหลักประกัน 400 บาท
         (3) นำส่งสภาวิชาชีพบัญชีทาง
          – เคาน์เตอร์ ณ อาคารสภาวิชาชีพบัญชี
          – ไปรษณีย์
          – ระบบออนไลน์ (สภาวิชาชีพบัญชีจะอนุมัติคำขอเมื่อได้รับเอกสารต้นฉบับ)